วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
รายวิชาพื้นฐาน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เวลา 80 ชั่วโมง/ปี
ศึกษาค้นคว้าเรียนรู้เกี่ยวกับการหาแรงลัพธ์ของแรงหลายแรงในแนวเดียวกันที่กระทำต่อวัตถุในกรณีที่วัตถุอยู่นิ่ง การเขียนแผนภาพแสดงแรงที่กระทำต่อวัตถุที่อยู่นิ่งในแนวเส้นตรง และแรงที่กระทำต่อวัตถุที่อยู่นิ่ง การใช้เครื่องชั่งสปริงในการวัดแรงที่กระทำต่อวัตถุ ผลของแรงลัพธ์ต่อการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ของวัตถุ การเขียนแผนภาพแสดงแรงและแรงเสียดทานของพื้นผิวที่กระทำต่อวัตถุ การเกิดเสียง การได้ยินเสียงผ่านอวัยวะที่เกี่ยวข้อง การเกิดเสียงสูง เสียงต่ำ การเกิดเสียงดัง เสียงค่อย การเกิดเสียงที่มีความถี่ต่างกัน การสะท้อนของเสียง และการนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
สารละลายชนิดต่าง ๆ การระเหยของของเหลว การเปลี่ยนแปลงของสารเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ การเปลี่ยนแปลงสถานะของน้ำ การแทรกตัวของน้ำในดิน การระเหยของน้ำในดิน การระเหยของน้ำในพืช มนุษย์สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ ตระหนักถึงคุณค่าของน้ำโดยเสนอแนวทางการใช้น้ำอย่างประหยัดและการอนุรักษ์น้ำ สร้างแบบจำลองที่อธิบายการหมุนเวียนของน้ำในวัฏจักรน้ำ กระบวนการเกิดเมฆ หมอก น้ำค้าง น้ำแข็ง ฝน หิมะ และลูกเห็บ ความแตกต่างของดาวเคราะห์และดาวฤกษ์ การใช้แผนที่ระบุตำแหน่งและเส้นทางการขึ้นและตกของกลุ่มดาวฤกษ์บนท้องฟ้า แบ่งประเภทของสิ่งมีชีวิตตามเกณฑ์ของกลุ่มดาวท้องฟ้าในรอบปี ลักษณะทางพันธุกรรมที่สามารถถ่ายทอดจากพ่อแม่สู่ลูกของพืช สัตว์ และมนุษย์ที่คล้ายคลึงกันหรือตกแต่งต่างกัน โครงสร้างและลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่เหมาะสมในแต่ละถิ่นที่อยู่ ความสัมพันธ์ของระบบนิเวศ ความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติที่มีต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตและมนุษย์ในด้านการดำรงชีวิต การใช้ประโยชน์และการรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อความสมดุลของธรรมชาติและผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต